ข้าวกล้อง ข้าวขาว

หลาย ๆ คนหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่แคลลอรี่น้อย ๆ บางคนถึงขั้นบอกว่าเลิกกินข้าวเลยดีกว่าเพราะข้าวเป็นแป้ง น่าจะทำให้อ้วนได้ ดังนั้นในบทความนี้จะขอพูดถึงแหล่งคาร์โบไฮเดรตทางเลือกอย่างเช่น ข้าวกล้อง ว่ามีความแตกต่างจากข้าวขาวหรือข้าวที่ผ่านการขัดสีมาแล้วอย่างไร

<strong>ข้าวกล้อง</strong> <strong>ข้าวขาว</strong> #1

ข้าวกล้อง เป็นข้าวที่เอาเปลือกออกแต่ในส่วนของจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) ยังอยู่ ซึ่งเป็นส่วนที่มีประโยชน์มาก ไม่ว่าจะเป็น วิตามิน บี 1, บี 2, ธาตุเหล็ก, ใยอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม วันนี้เราจะมาดูกันว่า กินข้าวกล้องแตกต่างจากการกินข้าวขาวอย่างไร ดีต่อร่างกายอย่างไร โดยจะพิจารณาความสำคัญของค่า ๆ หนึ่ง คือ ค่า #GlycemicIndex (#GI) หรือดัชนีน้ำตาล โดยอาหารชนิดใดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงจะหมายถึง เมื่อบริโภคอาหารชนิดนั้นเข้าไป จะถูกย่อยและกลายสภาพเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดอย่างรวดเร็ว เพราะประกอบด้วย น้ำตาลโมเลกุลเชิงเดี่ยวในปริมาณมาก ทำให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือด อีกทั้งยังทำให้อินซูลินจากตับอ่อนหลั่งออกมาอย่างรวดเร็วด้วย เมื่อน้ำตาลถูกอินซูลินพาเข้าไปในเซลล์อย่างรวดเร็วแล้ว อินซูลินที่หลั่งออกมามากและค้างอยู่ในกระแสเลือดก็กลับเกิดภาวะโหยน้ำตาล จึงทำให้ไม่สามารถเลิกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ๆ ได้ ซึ่งหากรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงเป็นประจำก็จะส่งผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเป็น #โรคเบาหวาน #โรคอ้วน #โรคหลอดเลือดสมอง #โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงการสะสมไขมันที่มากขึ้น และนั่นจะทำให้คุณอ้วนขึ้น

แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีค่าดัชนีน้ำตาลไม่สูง แต่ก็ควรทานแต่พอดี และ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

จะเห็นว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงมีผลต่อร่างกายเราอย่างมากถ้าบริโภคในปริมาณที่ไม่พอดี คราวนี้เราลองมาดูค่า GI ของข้าวชนิดต่าง ๆ และแหล่งคาร์โบไฮเดรตอื่น ๆ กัน ตัวอย่างเช่น น้ำตาลกลูโคส (ค่า GI =100), ข้าวขาวหอมมะลิ (ค่า GI = 100), ข้าวเหนียว (ค่า GI = 98), ข้าวกล้อง (ค่า GI =50), ขนมปังโฮลวีท (ค่า GI =53), วุ้นเส้น (ค่า GI =39)

คราวนี้เราลองมาดูรายงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของอังกฤษที่ชื่อว่า The British Medical Journal ในหัวข้อ การบริโภคข้าวขาวและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (White rice consumption and risk of type 2 diabetes meta-analysis and systematic review ) จะพบว่าการบริโภคข้าวที่ผ่านการขัดสีหรือข้าวขาว มีความเสี่ยงต่อโรค #เบาหวานชนิดที่2 โดยเฉพาะในชาวเอเชียที่มีการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ซึ่งจากงานวิจัยทำให้เราต้องตระหนักแล้วว่าการเลือกรับประทานข้าวของเรา ในแต่ละมื้อเราควรเลือกให้ดีว่าคาร์โบไฮเดรทที่เรารับประทานไปนั้นเป็นชนิดใด แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีค่าดัชนีน้ำตาลที่ไม่สูงมากแต่ก็ควรรับประทานแต่พอดีและออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

<strong>ข้าวกล้อง</strong> <strong>ข้าวขาว</strong> #2

POW DERLA พาวเดอร์ล่า

พาวเดอร์ล่า POWDERLA  พาวรูปแบบใหม่ พาวผงชงดื่ม ได้ประโยชน์ อร่อย ชงง่าย โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย ขิง  กระชายขาว  ตรีผลา (สมอไทย มะขามป้อม สมอพิเภก) ใบหม่อน  ชะเอมเทศ  เก๊กฮวย  เจียวกู้หลาน  แป๊ะก๊วย  ใบบัวบก  งาดำ  สารสกัด...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

พลูคาว คือ

พลูคาว หรือผักคาวตอง เป็นผักพื้นบ้านที่นิยมรับประทานใบสดแกล้มอาหาร โดยเฉพาะอาหารเหนือและอีสาน เช่น ลาบ ก้อย และแจ่ว และมีงานศึกษาวิจัยของหลายสถาบันที่รับรองสรรพคุณประโยชน์ของพลูคาว ว่ามีสรรพคุณรักษาหรือป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช...

อ่านต่อ

การออกกำลังกาย ผู้ป่วยเบาหวาน

การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน ให้ผลคล้ายกับการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งช่วยนำน้ำตาลในเลือดออกไปใช้ที่กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ขั้นตอนการออกกำลังกาย ประกอบด้วย 3ขั้นตอน เหมือนการออกกำลังกายปกติWarm upTraining zone exerciseCo...

อ่านต่อ

4 โรคร้ายจากการกิน ที่ไม่เหมาะสม

พฤติกรรมการรับประทานอาหารส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายมากกว่าที่คุณคิด แต่การเลือกประเภทอาหาร ก็อาจส่งผลให้ร่างกายทำงานได้เป็นอย่างดี หรืออาจจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคร้ายได้โดยไม่รู้ตัวข้อมูลจาก อ.พญ.พรจิรา ศุภราศรี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์...

อ่านต่อ

เบาหวาน มีตัวช่วย

โรคเบาหวาน ถึงจะมีตัวช่วยสมุนไพร อาหารเสริมอื่นๆ แต่ก็อย่าชะล่าใจไปนะครับ ยังไงก็ต้องรู้ว่าอะไรห้ามทาน อะไรทานแบบจำกัด อะไรที่ทานได้สบาย แล้วชีวิตจะมีความสุข สนุกกับการทานอาหารมากขึ้น พาวซูการ์คิว มีส่วนผสมของสมุนไพรคุมน้ำตาลหลายตัวที่มีงานวิจัยม...

อ่านต่อ

การวิ่งเปลี่ยนร่างกาย และ จิตใจ

การวิ่งเปลี่ยนร่างกายและจิตใจได้อย่างไร ไว้ดังนี้สุขใจ การวิ่งกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน สารเคมีธรรมชาติ ซึ่งมีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด และทำให้รู้สึกสุขสบายสมองดี นักวิจัยจากฟินแลนด์พบว่า หนูทดลองที่วิ่งเก่ง มีผลทดสอบด้านการเรียนรู้สูง และนักวิจัย...

อ่านต่อ