ไขข้อข้องใจ สร้างภูมิสู้ไวรัส
กระแสที่เกิดขึ้นตอนนี้ หลายคนตื่นตระหนกและหวาดกลัว ไปจนถึงหวั่นใจ กับคำถามมากมายว่าเชื้อโรคและไวรัสน่ากลัวแค่ไหน ภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันสำคัญแค่ไหน และจะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างไร มาไขข้อข้องใจเรื่องไวรัสกับภูมิต้านทานในร่างกายของเรากับ นพ.สุชาติ เลาบริพัตร แพทย์เฉพาะทางด้านระบาดวิทยา และ ผศ.ดร. เอกสิทธิ์ จงเจริญรักษ์ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ที่ตอบทุกข้อสงสัยให้เราเข้าใจเรื่องการสร้างภูมิสู้ไวรัส จะได้รู้ทันและป้องกันตัวเองจากโรคระบาดได้ดีขึ้น
การที่คนเราจะป่วยหรือติดโรคมีอยู่ 2 ปัจจัย คือปริมาณเชื้อไวรัสที่เข้ามามีมากน้อยแค่ไหน และภูมิต้านทานของเราสามารถต่อสู้กับไวรัสได้ไหม ถ้าเชื้อเข้ามาในปริมาณมากแต่ภูมิต้านทานน้อย ร่างกายสู้ไม่ได้ ก็ป่วย ตรงกันข้าม ถ้าเชื้อเข้าสู่ร่างกายน้อยและภูมิต้านทานสูง เราก็สู้ชนะ
ไวรัสมีหลายประเภท สามารถเข้าสู่ร่างกายด้วยช่องทางที่แตกต่างกัน ทั้งทางผิวหนัง ทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ ซึ่งแต่ละช่องทางที่ไวรัสเข้าสู่ร่างกายของเราจะมีภูมิต้านทานคอยต่อสู้กับไวรัส
ภูมิต้านทานของร่างกายมีอยู่สองกลุ่มใหญ่ คือภูมิต้านทานทั่วไปซึ่งอยู่ในบริเวณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ เมื่อเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย ภูมิต้านทานเหล่านี้จะต่อสู้เหมือนทหารที่คอยป้องกันชายแดน แต่หากไวรัสบุกเข้ามาในปริมาณมาก ภูมิต้านทานกลุ่มนี้จะสู้ไม่ไหว ร่างกายจึงมีภูมิต้านทานอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่าภูมิต้านทานเฉพาะ ทำหน้าที่เหมือนหน่วยรบพิเศษ ที่สามารถสู้กับเชื้อไวรัสที่มีปริมาณมากหรือแข็งแกร่งได้
ปัจจัยต่างๆ ทั้งมลภาวะในอากาศ การรับประทานอาหารที่อาจจะมีสารตกค้าง สารพิษต่างๆ หรือแม้กระทั่งการนอนหลับไม่เพียงพอ การไม่ได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง ส่งผลให้เรามีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและเกิดโรคได้
กลุ่มแรกก็คือกลุ่มคนสูงอายุ อีกกลุ่มคือคนที่มีโรคเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง กลุ่มคนเหล่านี้ภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถทำลายเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากๆ ได้ เมื่อทำลายได้ไม่หมดไวรัสก็เจริญเติบโต และทำให้เกิดโรคได้ง่าย
ต้องเคร่งครัดดูแลสุขภาพ รับประทานผักผลไม้หรืออาหารเสริม เพราะมีการพิสูจน์แล้วว่าวิตามินดี วิตามินซี และกลุ่มแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ได้จากผัก ผลไม้ และอาหารเสริม จะสามารถต่อต้านเชื้อไวรัสได้
POW Zukar Q พาวซูการ์คิว
กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคห...
ดูรายละเอียดต่อต้านอนุมูลอิสระ
ประโยชน์ของคอลลาเจน ที่ควรรู้
คอลลาเจนที่คุณทานอยู่ คุณทราบประโยชน์หรือไม่? และทำไม่ต้องทาน? หรือรับประทานตามกระแส วันนี้เรามาเจาะลึกถึงผลของการที่ร่างกายขาดคอลลาเจน และประโยชน์ของคอลลาเจน ให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ คอลลาเจน เป็นสิ่งที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เอง แต่เมื่อมีอายุมากขึ...
อ่านต่อมั่นใจ สมุนไพรไทย
ใครที่ยังสงสัยว่าสมุนไพรไทยดีจริงไหม ? ช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง? 3 คำถาม-คำตอบ กับ นพ.มารุต จิรเศรษฐสิริ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จะช่วยไขข้อข้องใจและสร้างความมั่นใจได้ว่า สมุนไพรมีดีและปลอดภัย ลองเปิดใ...
อ่านต่อสรรพคุณ ประโยชน์ ของ พลูคาวตอง
พลูคาวตอง หรือ พลูคาวเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ไข้หวัด ภูมิแพ้อากาศ โรคปอดบวม และโรคหลอดลมอักเสบ หอบหืด พลูคาวมีสารออกฤทธิ์สำคัญในกลุ่มของ Phenols ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เช่น Flavonoid, Alkaloid และ...
อ่านต่อชาเลือดมังกร กับประโยชน์ที่มากมาย
ชาเลือดมังกร เหตุที่เรียกชื่อนี้เนื่องจากสีสรรของน้ำชาสีแดงอันแปลกตาเวลาชงดื่ม ชาเลือดมังกร เป็นพืชพื้นถิ่นของทางภาคเหนือ ปลูกบนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่น้อยกว่า 1,300 เมตร ซึ่งสีแดงในน้ำชาอุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ซึ่งเป็นเม...
อ่านต่ออาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลง
ระวัง! อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลงอาบน้ำทันทีหลังดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายได้รับกลูโคสไม่พอ เสี่ยงหน้ามืด เวียนหัว เป็นลมหรือลื่นล้มในห้องน้ำอาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกาย ต้องรอร่างกายหายเหนื่อยก่อน 10-15 นาที ถ้าอาบทันทีอาจเสี่ยงไม่สบาย หรือช็อกได้อาบน้ำท...
อ่านต่อ