โรคหนังแข็ง โรคที่พบยากแต่ทุกข์ทรมาน

<strong>โรคหนังแข็ง</strong> โรคที่พบยากแต่ทุกข์ทรมาน #1

โรคหนังแข็ง (Scleroderma) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก ซึ่งคาดว่าเกิดเป็นนโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ร่างกายผลิตคอลลาเจนออกมามากเกินไป ทำให้ผิวหนังแข็งตึงและหนา ปลายนิ้วเขียวคล้ำ ผิวหนังมีสีคล้ำขึ้น ผู้ป่วยหลายรายได้รับผลกระทบไปถึงโครงสร้างใต้ผิวหนัง เช่น หลอดเลือด อวัยวะภายใน และระบบทางเดินอาหาร พบบ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 30-50 ปี

แล้วอะไรล่ะ!!! ที่จะบ่งบอกว่าคุณเสี่ยงเป็นโรคนี้ !!!

อาการของโรคจะแตกต่างกันออกไปตามบริเวณที่เกิดขึ้น ดังนี้

  • ผิวหนัง มีลักษณะแข็งและหนาเป็นปื้นรูปวงรีหรือเป็นเส้นตรง หรืออาจครอบคลุมเป็นบริเวณกว้างที่ลำตัวหรือแขนและขา โดยขนาดและตำแหน่งการเกิดจะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของโรค นอกจากนั้น ที่บริเวณดังกล่าวอาจมันวาวเพราะผิวตึงและทำให้อวัยวะบริเวณนั้นเคลื่อนไหวไม่สะดวก
  • นิ้วมือหรือนิ้วเท้า เป็นแผลหรือมีอาการเจ็บปวดที่ปลายนิ้วมือ พอง บวม นิ้วเปลี่ยนเป็นสีซีดหรือแดง หรือที่เรียกว่า ภาวะเรเนาด์ (Raynaud's Phenomenon)
  • มีจุดสีแดงขึ้นบนหน้าอกและใบหน้า หรือที่เรียกว่าภาวะเส้นเลือดฝอยขยายตัว (Telangiectasia)
  • ข้อต่อมีอาการบวมหรือเจ็บปวด
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปากหรือตาแห้งหรือที่เรียกว่าโรคโจเกรน (Sjogren's Syndrome)
  • หายใจตื้น
  • แสบร้อนกลางอก
  • ท้องเสีย
  • น้ำหนักลด
  • ระบบย่อยอาหาร ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน ซึ่งสสร้างความเสียหายให้กับหลอดอาหารส่วนที่ใกล้กับกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาในการดูดซึมสารอาหาร เพราะกล้ามเนื้อลำไส้ทำงานไม่ปกติ ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ปอดและไต ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

การรักษาโรคหนังแข็ง

เน้นการรักษาตามอาการเป็นหลัก เช่นให้ยาที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการสร้างและสะสมตัวของสายใยคอลลาเจนในอวัยวะต่าง ๆ ที่เกิดมากผิดปกติ  ให้ยาขยายหลอดเลือดเพื่อลดอาการปลายนิ้วซีดเขียวและลดอาการปวด ในกรณีที่มีอาการกลืนลำบาก  ปวดแสบท้องบริเวณลิ้นปี่   ให้ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร หรือ ยาที่ช่วยการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ผู้ป่วยบางรายสามารถหยุดพักการรักษาได้เมื่อโรคสงบลง เนื่องจากอาการรุนแรงไม่เท่ากันในแต่ละราย ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็งแต่ละคนจึงได้รับการรักษาไม่เหมือนกัน

<strong>โรคหนังแข็ง</strong> โรคที่พบยากแต่ทุกข์ทรมาน #2

การป้องกัน

  - หลีกเลี่ยงการสัมผัสความเย็น, อากาศเย็น ควรใส่เสื้อผ้าที่หนาเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย เนื่องจากจะทำให้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น  อาการของโรค เช่น ปลายนิ้วมือ ซีด เขียวปวด  จะกำเริบมากขึ้น

  - หยุดสูบบุหรี่ เนื่องจากจะทำให้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น

  - ควรทำกายภาพบำบัด นิ้วมือเพื่อป้องกันการติดยึด และข้อผิดรูปของนิ้วมือ

  - หลีกเลี่ยงกิจกรรม หรือการทำงานที่จะก่อให้แผลบริเวณปลายนิ้ว

  - ออกกำลังกายบริเวณหัวไหล่ โดยการหมุนหัวไหล่ในท่าขว้างลูกบอล เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณปลายนิ้ว

  - ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น กลืนลำบาก, หายใจลำบาก อึดอัด เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

  - มารับการตรวจและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ 


ข้อมูลอ้างอิง : 
Pobpad.com/โรคหนังแข็ง    
Siriraj E-public Library/โรคหนังแข็ง ผศ.พญ.ปภาพิต ตู้จินดา ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

พาวน้ำ ขวดใหญ่ POW พาวเอสเซ้นส์ พาวน้ำพลูคาว

พาวซุยยากุเอสเซนส์ น้ำสมุนไพรพลูคาวสกัดเข้มข้น พาวซุยยากุเอสเซนส์ หรือพาวน้ำ  ผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพรสกัด 11 ชนิด ประกอบด้วยพลูคาวเป็นส่วนประกอบหลัก และสมุนไพรอื่น 10 ชนิด ได้แก่ ใบมะรุม มะขามป้อม กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๊ สมอไทย โสม ลูกยอ เจี...

ดูรายละเอียด

ผิวหนังอักเสบ

บทความน่ารู้

สมุนไพรรักษาสิว

ในโลกนั้นมีสมุนไพรหลายหลายชนิดบ้างก็ช่วยบำรุงอวัยวะภายนอกบ้างก็บำรุงอวัยวะภายในวันนี้เราเลยจะมานำเสนอ5สมุนไพรที่ลดการเกิดสิว ใบโหระพา นั้นมีสรรพคุณในการต่อต้านอนุมูลอิสระและยังมีคุณสมบัติในการกำจัดแบคทีเรียอีกด้วยส่งให้สิวหรือรอยแดงลดลง ผักชี นั้นมี...

อ่านต่อ

สินค้าของพาวมีอะไรบ้าง

สินค้าภายใต้แบรนด์พาว มีอะไรบ้าง?? และแแต่ละตัวมีดีอย่างไร??  เรามีคำตอบ พาวซุยยากุเอสเซ้นส์  พาวน้ำ พี่ใหญ่ของแบรนด์พาว น้ำสมุนไพรสกัดเข้มข้น  โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก พร้อมสมุนไพรอื่นอีก 10 ชนิด รวมสมุนไพร 11 ชนิดใน 1 ขวด นวั...

อ่านต่อ

ดื่มน้ำมากไป ใช่ว่าจะดี

อะไรที่มากไป น้อยไป มักจะไม่ดี ดังเช่นการ ดื่มน้ำมากไปใช่ว่าจะดี มีผลเสียกับร่างกายดังนี้ทําให้เซลล์บวม ในร่างกายจะมีโซเดียมและโพแทสเซียม ช่วยรักษาสมดุล ของเหลวในร่างกาย เมื่อมีน้ําในเซลล์มากไป จะเป็นอันรายต่อเซลล์ประสาทโซเดียมต่ํากว่าปกติ หากดื่มน้...

อ่านต่อ

โรคฉวยโอกาส มาเยือนเมื่อภูมิต่ำ

หลายคนอาจจะไม่เป็นกังวล เพราะไม่รู้ว่าเมื่อภูมิคุ้มกันลดน้อยลง จะเกิดอะไรขึ้น อายุที่เพิ่มมากขึ้น ความเครียดจากการทำงาน การนอนไม่หลับพักผ่อนน้อย ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอจนเสื่อมโทรมลงได้ แล้วรู้หรือไม่ว่าการปล่อยให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็เหมือนการเปิดป...

อ่านต่อ

มั่นใจ สมุนไพรไทย

ใครที่ยังสงสัยว่าสมุนไพรไทยดีจริงไหม ?  ช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง?  3 คำถาม-คำตอบ กับ นพ.มารุต จิรเศรษฐสิริ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จะช่วยไขข้อข้องใจและสร้างความมั่นใจได้ว่า สมุนไพรมีดีและปลอดภัย ลองเปิดใ...

อ่านต่อ