โรคหนังแข็ง โรคที่พบยากแต่ทุกข์ทรมาน

<strong>โรคหนังแข็ง</strong> โรคที่พบยากแต่ทุกข์ทรมาน #1

โรคหนังแข็ง (Scleroderma) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก ซึ่งคาดว่าเกิดเป็นนโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ร่างกายผลิตคอลลาเจนออกมามากเกินไป ทำให้ผิวหนังแข็งตึงและหนา ปลายนิ้วเขียวคล้ำ ผิวหนังมีสีคล้ำขึ้น ผู้ป่วยหลายรายได้รับผลกระทบไปถึงโครงสร้างใต้ผิวหนัง เช่น หลอดเลือด อวัยวะภายใน และระบบทางเดินอาหาร พบบ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 30-50 ปี

แล้วอะไรล่ะ!!! ที่จะบ่งบอกว่าคุณเสี่ยงเป็นโรคนี้ !!!

อาการของโรคจะแตกต่างกันออกไปตามบริเวณที่เกิดขึ้น ดังนี้

  • ผิวหนัง มีลักษณะแข็งและหนาเป็นปื้นรูปวงรีหรือเป็นเส้นตรง หรืออาจครอบคลุมเป็นบริเวณกว้างที่ลำตัวหรือแขนและขา โดยขนาดและตำแหน่งการเกิดจะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของโรค นอกจากนั้น ที่บริเวณดังกล่าวอาจมันวาวเพราะผิวตึงและทำให้อวัยวะบริเวณนั้นเคลื่อนไหวไม่สะดวก
  • นิ้วมือหรือนิ้วเท้า เป็นแผลหรือมีอาการเจ็บปวดที่ปลายนิ้วมือ พอง บวม นิ้วเปลี่ยนเป็นสีซีดหรือแดง หรือที่เรียกว่า ภาวะเรเนาด์ (Raynaud's Phenomenon)
  • มีจุดสีแดงขึ้นบนหน้าอกและใบหน้า หรือที่เรียกว่าภาวะเส้นเลือดฝอยขยายตัว (Telangiectasia)
  • ข้อต่อมีอาการบวมหรือเจ็บปวด
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปากหรือตาแห้งหรือที่เรียกว่าโรคโจเกรน (Sjogren's Syndrome)
  • หายใจตื้น
  • แสบร้อนกลางอก
  • ท้องเสีย
  • น้ำหนักลด
  • ระบบย่อยอาหาร ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน ซึ่งสสร้างความเสียหายให้กับหลอดอาหารส่วนที่ใกล้กับกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาในการดูดซึมสารอาหาร เพราะกล้ามเนื้อลำไส้ทำงานไม่ปกติ ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ปอดและไต ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

การรักษาโรคหนังแข็ง

เน้นการรักษาตามอาการเป็นหลัก เช่นให้ยาที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการสร้างและสะสมตัวของสายใยคอลลาเจนในอวัยวะต่าง ๆ ที่เกิดมากผิดปกติ  ให้ยาขยายหลอดเลือดเพื่อลดอาการปลายนิ้วซีดเขียวและลดอาการปวด ในกรณีที่มีอาการกลืนลำบาก  ปวดแสบท้องบริเวณลิ้นปี่   ให้ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร หรือ ยาที่ช่วยการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ผู้ป่วยบางรายสามารถหยุดพักการรักษาได้เมื่อโรคสงบลง เนื่องจากอาการรุนแรงไม่เท่ากันในแต่ละราย ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็งแต่ละคนจึงได้รับการรักษาไม่เหมือนกัน

<strong>โรคหนังแข็ง</strong> โรคที่พบยากแต่ทุกข์ทรมาน #2

การป้องกัน

  - หลีกเลี่ยงการสัมผัสความเย็น, อากาศเย็น ควรใส่เสื้อผ้าที่หนาเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย เนื่องจากจะทำให้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น  อาการของโรค เช่น ปลายนิ้วมือ ซีด เขียวปวด  จะกำเริบมากขึ้น

  - หยุดสูบบุหรี่ เนื่องจากจะทำให้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น

  - ควรทำกายภาพบำบัด นิ้วมือเพื่อป้องกันการติดยึด และข้อผิดรูปของนิ้วมือ

  - หลีกเลี่ยงกิจกรรม หรือการทำงานที่จะก่อให้แผลบริเวณปลายนิ้ว

  - ออกกำลังกายบริเวณหัวไหล่ โดยการหมุนหัวไหล่ในท่าขว้างลูกบอล เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณปลายนิ้ว

  - ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น กลืนลำบาก, หายใจลำบาก อึดอัด เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

  - มารับการตรวจและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ 


ข้อมูลอ้างอิง : 
Pobpad.com/โรคหนังแข็ง    
Siriraj E-public Library/โรคหนังแข็ง ผศ.พญ.ปภาพิต ตู้จินดา ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

POW DERLA พาวเดอร์ล่า

พาวเดอร์ล่า POWDERLA  พาวรูปแบบใหม่ พาวผงชงดื่ม ได้ประโยชน์ อร่อย ชงง่าย โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย ขิง  กระชายขาว  ตรีผลา (สมอไทย มะขามป้อม สมอพิเภก) ใบหม่อน  ชะเอมเทศ  เก๊กฮวย  เจียวกู้หลาน  แป๊ะก๊วย  ใบบัวบก  งาดำ  สารสกัด...

ดูรายละเอียด

ผิวหนังอักเสบ

บทความน่ารู้

การเดินทางของ พาว ซุยยากุเอสเซนส์ สุขภาพดีสร้างได้ด้วยตัวเราเอง

อยากให้ดู อยากให้รู้ว่า สุขภาพดีสร้างได้ พาวน้ำ ขนาด 750ml. รับประทานได้ประมาณ 30 วัน ทำไมถึงต้องพิถีพิถัน ถึงใช้เวลา เพราะเรื่องสุขภาพคือชีวิต คือความสุข คือพลังใจ คือพลังกาย ให้เราพร้อมเปลี่ยนแปลงตัวเองในทุกๆวันเพราะนี่คือ ชีวิตคนจริงๆ ปัญหาส...

อ่านต่อ

ใยอาหาร ยีสต์เบต้ากลูแคน มีประโยชน์

ยีสต์เบต้ากลูแคน (Yeast Beta-Glucan) มีคุณสมบัติเป็นใยอาหาร นอกจากจะช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายแล้ว ยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระตุ้นให้เม้ดเลือดขาวเตรียมพร้อมควบบคุมการหลังสาร ไซโตไคน์ ที่ช่วยสื่อสารระหว่าง...

อ่านต่อ

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคผิวหนังอักเสบ คืออะไร

โรคผิวหนังอักเสบ ภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นอาการของผิวหนังอักเสบที่เป็นๆ หายๆ อย่างเรื้อรัง โดยพบบ่อยในเด็ก แต่สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน ผู้ที่เป็นโรคนี้มีแนวโน้มมาจากพันธุกรรมเป็นพื้นฐาน และมักเกิดร่วมกับโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เช่นโรคหอบหืด แพ้อากาศ...

อ่านต่อ

ใครที่เสี่ยงเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง

ใครที่เสี่ยงเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง?แม้ว่าโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง โรคพุ่มพวง เอสแอลอี หรือลูปัส จะไม่ได้พบกันบ่อยๆ แต่ก็พบได้เรื่อยๆ พบได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ แม้ว่าจะหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานผิด...

อ่านต่อ

โรคฉวยโอกาส มาเยือนเมื่อภูมิต่ำ

หลายคนอาจจะไม่เป็นกังวล เพราะไม่รู้ว่าเมื่อภูมิคุ้มกันลดน้อยลง จะเกิดอะไรขึ้น อายุที่เพิ่มมากขึ้น ความเครียดจากการทำงาน การนอนไม่หลับพักผ่อนน้อย ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอจนเสื่อมโทรมลงได้ แล้วรู้หรือไม่ว่าการปล่อยให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็เหมือนการเปิดป...

อ่านต่อ