ข้าวกล้อง ข้าวขาว

หลาย ๆ คนหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่แคลลอรี่น้อย ๆ บางคนถึงขั้นบอกว่าเลิกกินข้าวเลยดีกว่าเพราะข้าวเป็นแป้ง น่าจะทำให้อ้วนได้ ดังนั้นในบทความนี้จะขอพูดถึงแหล่งคาร์โบไฮเดรตทางเลือกอย่างเช่น ข้าวกล้อง ว่ามีความแตกต่างจากข้าวขาวหรือข้าวที่ผ่านการขัดสีมาแล้วอย่างไร

<strong>ข้าวกล้อง</strong> <strong>ข้าวขาว</strong> #1

ข้าวกล้อง เป็นข้าวที่เอาเปลือกออกแต่ในส่วนของจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) ยังอยู่ ซึ่งเป็นส่วนที่มีประโยชน์มาก ไม่ว่าจะเป็น วิตามิน บี 1, บี 2, ธาตุเหล็ก, ใยอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม วันนี้เราจะมาดูกันว่า กินข้าวกล้องแตกต่างจากการกินข้าวขาวอย่างไร ดีต่อร่างกายอย่างไร โดยจะพิจารณาความสำคัญของค่า ๆ หนึ่ง คือ ค่า #GlycemicIndex (#GI) หรือดัชนีน้ำตาล โดยอาหารชนิดใดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงจะหมายถึง เมื่อบริโภคอาหารชนิดนั้นเข้าไป จะถูกย่อยและกลายสภาพเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดอย่างรวดเร็ว เพราะประกอบด้วย น้ำตาลโมเลกุลเชิงเดี่ยวในปริมาณมาก ทำให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือด อีกทั้งยังทำให้อินซูลินจากตับอ่อนหลั่งออกมาอย่างรวดเร็วด้วย เมื่อน้ำตาลถูกอินซูลินพาเข้าไปในเซลล์อย่างรวดเร็วแล้ว อินซูลินที่หลั่งออกมามากและค้างอยู่ในกระแสเลือดก็กลับเกิดภาวะโหยน้ำตาล จึงทำให้ไม่สามารถเลิกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ๆ ได้ ซึ่งหากรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงเป็นประจำก็จะส่งผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเป็น #โรคเบาหวาน #โรคอ้วน #โรคหลอดเลือดสมอง #โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงการสะสมไขมันที่มากขึ้น และนั่นจะทำให้คุณอ้วนขึ้น

แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีค่าดัชนีน้ำตาลไม่สูง แต่ก็ควรทานแต่พอดี และ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

จะเห็นว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงมีผลต่อร่างกายเราอย่างมากถ้าบริโภคในปริมาณที่ไม่พอดี คราวนี้เราลองมาดูค่า GI ของข้าวชนิดต่าง ๆ และแหล่งคาร์โบไฮเดรตอื่น ๆ กัน ตัวอย่างเช่น น้ำตาลกลูโคส (ค่า GI =100), ข้าวขาวหอมมะลิ (ค่า GI = 100), ข้าวเหนียว (ค่า GI = 98), ข้าวกล้อง (ค่า GI =50), ขนมปังโฮลวีท (ค่า GI =53), วุ้นเส้น (ค่า GI =39)

คราวนี้เราลองมาดูรายงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของอังกฤษที่ชื่อว่า The British Medical Journal ในหัวข้อ การบริโภคข้าวขาวและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (White rice consumption and risk of type 2 diabetes meta-analysis and systematic review ) จะพบว่าการบริโภคข้าวที่ผ่านการขัดสีหรือข้าวขาว มีความเสี่ยงต่อโรค #เบาหวานชนิดที่2 โดยเฉพาะในชาวเอเชียที่มีการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ซึ่งจากงานวิจัยทำให้เราต้องตระหนักแล้วว่าการเลือกรับประทานข้าวของเรา ในแต่ละมื้อเราควรเลือกให้ดีว่าคาร์โบไฮเดรทที่เรารับประทานไปนั้นเป็นชนิดใด แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีค่าดัชนีน้ำตาลที่ไม่สูงมากแต่ก็ควรรับประทานแต่พอดีและออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

<strong>ข้าวกล้อง</strong> <strong>ข้าวขาว</strong> #2

POW พาวโปรตีน พาวเดลี่ POW Daily

พาวเดลี่ POW Daily โปรตีนจากพืช Multi Plant Protein 5 ชนิด พาวโปรตีน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุง เสริมพลังงานให้เพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกาย ใน 1 วัน  เด็กที่ไม่ทานผัก หรือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ทานอาหารยาก ทานได้น้อย เบื่ออาหาร  หรือผู้ที่ออกกำลัง...

ดูรายละเอียด

ควบคุมน้ำหนัก

บทความน่ารู้

การกินอาหาร มีผลอย่างไรต่ออายุของเรา

เคยสงสัยกันมั๊ยว่าเรื่องอาหารการกินมีความสัมพันธ์อย่างไรกับอายุขัยของเราในอดีตจนถึงปัจจุบันในบางพื้นที่ มนุษย์ต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารที่มีสารอาหารที่จำเป็น เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเราเอง แต่ในยุคสมัยใหม่ ในประเทศหรือเมืองที่เจริญ ผู้ค...

อ่านต่อ

เบาหวาน หายได้ไหม

เบาหวาน หายได้ไหม? หลังจากหมอหยุดจ่ายยามาแล้วสักระยะ หมอก็ขอนัดเพื่อติดตามผล น้ำตาลปลายนิ้ว 99mg./dL และ น้ำตาลสะสม 5.3% สมุนไพรแอลยูเซเว่น เป็นสมุนไพรเชิงวิทยาศาสตร์ แอลยูเซเว่นไม่ได้เป็นสมุนไพรครอบจักรวาล แต่แอลยูเซเว่นมุ่งเน้นเฉพาะโรค ด้วยการพัฒนา...

อ่านต่อ

ลองทาน กาแฟพาว ดูหรือยัง

ลองทานกาแฟพาว หรือยังคะ? การแฟพาว พาวเอสคอฟฟี่  หรือไม่ได้มีแค่อร่อยน ทานแล้วต้องสุขภาพดีในระยะยาวความหอม  จากกาแฟ ความหวาน ความมัน จากน้ำมันมะพร้าว ซึ่งจะมี good fat หรือไขมันดี กาแฟซอง พาวเอสคอฟฟี่ นอกจากความเข้มข้น หอมอร่อย และยังด...

อ่านต่อ

โพรไบโอติก ช่วยให้ คุณไม่ป่วย

ดร.ไช่อิงเจี๋ย ศาสตราจารย์ สถาบันวิจัยชีวเคมีและอณูชีววิทยา มหาวิทยาลัยแห่งชาติหยังหมิง ไต้หวัน อธิบายถึงความสำคัญของโพรไบโอติกต่อสุขภาพ ว่า ลำไส้เป็นอวัยวะสร้างภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุด ร่างกายคนเรามีเซลล์ภูมิคุ้มกันราวร้อยละ 70 กระจายอยู่ในลำไส้ ช...

อ่านต่อ

ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ชนิดของไขมันในเลือด ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์&n...

อ่านต่อ